สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 30 พฤษภาคม-5 มิถุนายน 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,767 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,221 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.13
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,987 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,900 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,025 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 32,990 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.75
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 963 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,728 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 999 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,939 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.60 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,211 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,803 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 467 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,865 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 62 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 477 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,211 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 479 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,273 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 62 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.9856 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย-เวียดนาม: หารือยกระดับราคาข้าวเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาดโลก
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC) ได้หารือกับนายทรัน ทานห์ นาม (H.E. Mr. Tran Thanh Nam) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการเกษตร ระหว่างไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในโอกาสที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทฯ ได้เดินทางมาร่วมงาน “เทคโนโลยีเกษตรเอเชียและพืชสวนเอเชีย 2022 (Agritechnica Asia & Horti Asia 2022) ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนร่วมกับ German Agriculture Society (DLG)
ด้านนายทรัน ทานห์ นาม ได้หารือความร่วมมือในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางเกษตร 2) การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สหกรณ์การเกษตร ซึ่งฝ่ายเวียดนามเห็นว่าประเทศไทยมีสหกรณ์การเกษตร
ที่เข้มเข็งและมีชื่อเสียงด้านผลิตภัณฑ์ OTOP จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่มาดูงานด้านสหกรณ์ในประเทศไทย 3) การสนับสนุนให้เกษตรกรใช้เครื่องมือทางการเกษตรแทนแรงงานคน 4) การอบรมเกษตรกร และ 5) ความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary: SPS)
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ไทยยินดีให้การสนับสนุนเวียดนามในประเด็นดังกล่าว และเห็นว่าทั้งสองประเทศ
มีกลไกความร่วมมือด้านการเกษตร และ SPS ในรูปคณะทำงานร่วม ซึ่งสามารถเร่งรัดนัดหมายประชุมเพื่อเดินหน้าความร่วมมือในด้านต่างๆ ได้โดยเร็ว ทั้งนี้ มีประเด็นที่ขอความร่วมมือในการดำเนินการต่างๆ ดังนี้
1. เสนอให้กระชับความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยเรื่องข้าว ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อยกระดับราคาข้าวและเพิ่มรายได้ให้ชาวนา เพราะกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ราคาข้าวในตลาดโลกต่ำมาก อยู่ที่ 300-400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในขณะที่ต้นทุนสูงขึ้นตลอดเวลา หากไทยและเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกร่วมมือกัน จะมีอำนาจต่อรองครองตลาดโลก เกษตรกรของทั้ง 2 ประเทศ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นพ้นจากความยากจนและหนี้สิน
2. เสนอให้เวียดนามสนับสนุนการจัดตั้งสภายางพาราอาเซียน (ASEAN RUBBER COUNCIL: ARCO)
เพื่อร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา สนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยาง และเพิ่มอำนาจการต่อรองของกลุ่มอาเซียน
3. ขอให้ฝ่ายเวียดนามเร่งรัดการอนุญาตนำเข้ามะม่วง และเงาะ จากไทย ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันตั้งแต่ปี 2559 รวมทั้งการส่งออกลูกไก่ และไข่ฟักพ่อแม่พันธุ์ จากไทยไปเวียดนาม ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้นำประเด็นดังกล่าวไปหารือเพิ่มเติมในการประชุม SPS
4. เสนอเวียดนามพิจารณาจัดสรรคิวรถขนส่งผลไม้สด ซึ่งเป็นสินค้าเน่าเสียง่ายของไทย ที่จะผ่านด่านเวียดนามไปจีนเป็นกรณีพิเศษ เช่น ด่านโหยวอี้กวน ด่านตงชิง เป็นต้น
5. เสนอเพิ่มความร่วมมือด้านโลจิสติกส์การเกษตรระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม ผ่านท่าเรือหวุ่งอ๋าง (Vung Ang) และท่าเรือไฮฟอง ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขนส่งผลไม้ และสินค้าเกษตร ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอื่นๆ
6. ประเทศไทยสนใจที่จะเรียนรู้เรื่องโอค็อป (One Commune One Product: OCOP) ของเวียดนามเช่นกัน
7. ขอให้ฝ่ายเวียดนามเร่งแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานหลัก (Contact Point) และจัดประชุม SPS ครั้งที่ 2
โดยทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้นำเสนอประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมในภายหลังการหารือครั้งนี้ และเห็นควรให้มีการหารือในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ในคณะทำงานร่วมโดยเฉพาะในช่วงการจัดงาน Agritechnica ที่ฝ่ายเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2565 ซึ่งเวียดนามแจ้งว่าจะมีหนังสือเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เข้าร่วมงานดังกล่าวอย่างเป็นทางการโดยเร็วต่อไป
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
อินเดีย: อินเดียไร้แผนจำกัดส่งออกข้าว เหตุอุปทานในประเทศพุ่ง
อินเดียยังไม่มีแผนควบคุมการส่งออกข้าว เนื่องจากมีข้าวในสต็อกเพียงพอ และราคาข้าวในประเทศยังถูกกว่าราคากลางที่รัฐบาลกำหนด หลังอินเดียสั่งห้ามส่งออกข้าวสาลีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 หลังอินเดียคาดการณ์
การส่งออกข้าวสาลีในปีนี้ไว้ที่ 10 ล้านตัน เนื่องจากคลื่นความร้อนกระทบผลผลิตและหนุนให้ราคาข้าวสาลีในประเทศปรับสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสรายหนึ่งของรัฐบาลอินเดีย กล่าวว่า “มีสต็อกข้าวเพียงพอและไม่มีความเสี่ยงทั้งในด้านราคา และปริมาณสำหรับการส่งออก และการบริโภคภายในประเทศ”
ขณะที่แหล่งข่าวระบุว่า “ขณะนี้ รัฐบาลอินเดียยังไม่ได้พิจารณาเรื่องการสั่งห้ามส่งออกข้าว”
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การส่งออกข้าวจากอินเดียมีปริมาณ 21.2 ล้านตัน ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2565 ปรับสูงขึ้นจากเมื่อปีที่ผ่านมาที่ส่งออกปริมาณ 17.8 ล้านตัน โดยอินเดียเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้บริโภคข้าวอันดับสองของโลก
นายกฤษณะ เรา ประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย ระบุว่า ราคาข้าวเริ่มปรับลดลง แม้ว่ายอดส่งออกจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากอินเดียมีข้าวในสต็อกปริมาณมหาศาล และบรรษัทอาหารแห่งอินเดีย (Food Corporation of India: FCI)
ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บสต็อกข้าว ได้ดำเนินการซื้อข้าวเพิ่มมากขึ้น
นายเรา กล่าวว่า “อินเดียไม่มีความจำเป็นต้องจำกัดการส่งออก แม้ว่าผลผลิตและราคาข้าวสาลีได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่ทั้งสองประเทศไม่ได้เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคข้าวรายใหญ่”
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.62 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.64
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 400.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,594.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 399.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,548.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 46.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 588.00 เซนต์ (7,972.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 774.00 เซนต์ (10,485.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 24.03 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 2,513.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนพฤษภาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.294 ล้านตัน (ร้อยละ 3.73 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.52 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.51 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.40
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.66 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.37 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.93
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.11 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.10 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.11
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.18 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.87
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,000 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (10,030 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 530 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,120 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,900 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.53

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.699 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.306 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.775 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.320 ล้านตันของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 4.28 และร้อยละ 4.38 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 10.04 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 8.97 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.93
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 55.84 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 54.00 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.41                             
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียได้อนุญาตให้ส่งออกน้ำมันปาล์มไปแล้วประมาณ 302,000 ตัน ซึ่งจากเดิมก่อนมีมาตรการห้ามการส่งออก อินโดนีเซียเคยส่งออกมากถึง 2.50 ล้านตันต่อเดือน คาดว่าเกิดจากมาตรการ Domestic Market Obligation (DMO) ที่ทำให้การส่งออกล่าช้า และการห้ามส่งออกที่ผ่านมายังทำให้ราคาผลปาล์มที่เกษตรกรได้รับของอินโดนีเซียลดลงอย่างมาก เนื่องจากโรงสกัดหยุดการสั่งซื้อผลปาล์ม เพราะไม่มีการส่งออก และในปัจจุบันราคาของเกษตรกรก็ยังคงต่ำกว่าราคาเกษตรกรก่อนมีมาตรการห้ามส่งออก
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,677.26 ดอลลาร์มาเลเซีย (52.92 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 6,995.49 ดอลลาร์มาเลเซีย (55.28 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.55  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,750.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (60.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,714.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (58.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.10
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         
           โควตาขายน้ำตาลของโรงงานในเดือนมิถุนายนตั้งไว้ที่ 2.1 ล้านตัน ลดลง 100,000 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ในรัฐมหาราษฏระการจ่ายอ้อยขั้นสุดท้ายให้ชาวไร่อาจล่าช้า เนื่องจาก โรงงานยังดำเนินการอยู่ และสถาบันน้ำตาล Vasantdada (VSI) จำเป็นต้องคำนวณการฟื้นตัว โดยคำนึงถึง เอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาล B-heavy และจากน้ำอ้อยในท้องถิ่น Cepea/Esalq รายงานว่ายอดขายของโรงงานเอทานอลในเซาเปาโลลดลงสู่จุดต่ำสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 พฤษภาคม นับตั้งแต่กลางเดือนมกราคม เนื่องจากความต้องการที่ลดลงของผู้ซื้อที่รอราคาลดลง และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายภาษีในภาคกลาง-ใต้ของบราซิลมีเอทานอล 2.26 พันล้านลิตรในคลัง ณ กลางเดือนพฤษภาคม ลดลง 12% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามการรายงานของ MAPA อย่างไรก็ตามเอทานอลในคลังเพิ่มขึ้น 41% ในช่วงสองสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ที่ลดลง 17% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,700.05 เซนต์ (21.50 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,703.92 เซนต์ (21.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.23
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 412.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.20 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 426.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.36
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 79.83 เซนต์ (60.56 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 79.92 เซนต์ (60.59 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.11


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.25 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 26.73
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.17
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.63
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 927.50 ดอลลาร์สหรัฐ (31.52 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 883.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.52 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 704.75 ดอลลาร์สหรัฐ (23.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 705.60 ดอลลาร์สหรัฐ (23.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,223.50 ดอลลาร์สหรัฐ (41.58 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,209.20 ดอลลาร์สหรัฐ (41.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.50 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 771.75 ดอลลาร์สหรัฐ (26.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 764.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.25 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,173.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.87 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,144.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.47 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.13 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 138.08 เซนต์(กิโลกรัมละ 104.77 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 141.90 เซนต์ (กิโลกรัมละ 107.58 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.69 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.81 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,833 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,906 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.85 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,475 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,520 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,013 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  99.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.48  คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 90.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 104.80 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 100.83 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 42.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.89 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 43.12 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 318 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 314 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 335 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 330 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 372 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 368 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 387 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 347 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 377 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.07 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.31 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 104.42 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.16 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 81.84 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.34 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 5 มิถุนายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.81 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 59.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.57 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.38 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.69 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.20 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 146.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.47 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.84 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท